คลังฟื้น”เหมืองแร่โปแตชอาเซียน”ชัยภูมิ 6.3 หมื่นล้าน แก้ปุ๋ยแพง

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ppt

คลังเสนอฟื้นโครงการ”เหมืองแร่โปแตชอาเซียน” จังหวัดชัยภูมิ วงเงินลงทุนรวม 63,800 ล้านบาท

ทดแทนการนําเข้าแม่ปุ๋ยโพแทสเซียมจากต่างประเทศ 7-8 แสนตันต่อปี ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงปุ๋ยโพแทสเซียมราคาถูกลง 20-30%

โครงการ”เหมืองแร่โปแตชอาเซียน” ที่อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานกว่า 43 ปี เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อกระทรวงการคลัง ได้เสนอแนวทางการดําเนินการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จํากัด (มหาชน) ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

โดยครม.ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาความจําเป็นและความเหมาะสม ในการลงทุนในโครงการทําเหมืองแร่โปแตชที่อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ วงเงินลงทุนรวม 63,800 ล้านบาท ให้เป็นไปตามข้อตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (Basic Agreement on ASEAN Industrial Projects) (Basic Agreement)

รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐบาล และแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการเพิ่มทุนบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จํากัด (มหาชน) เพื่อเสนอครม.พิจารณาต่อไป

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ppt

สำหรับโครงการทําเหมืองแร่โปแตชที่อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เริ่มต้นเมื่อปี 2523 โดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และประเทศไทย ได้ลงนามในข้อตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน(Basic Agreement) ภายใต้โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Projects:AIP) เพื่อกําหนดให้มีโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร ในกลุ่มประเทศอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยแต่ละประเทศจะต้องดําเนินโครงการอย่างน้อยหนึ่งโครงการ และกําหนดให้ประเทศเจ้าของโครงการต้องร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 50% ของยอดเงินลงทุนทั้งหมด และมีสัดส่วนที่เป็นเงินลงทุนจากรัฐบาลเจ้าของโครงการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 20% ของยอดเงินลงทุน และอีก 40% ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเป็นผู้ลงทุน

เมื่อ 28 มีนาคม 2532 ไทยเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม นําโครงการทําเหมืองแร่โปแตชที่อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เข้าสู่การพิจารณาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (ASEAN Experts Group) ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยอุตสาหกรรมแร่ธาตุและพลังงาน (COIME) โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีว่า โครงการข้างต้นมีความเหมาะสม ทั้งทางด้านเทคนิค และทางเศรษฐกิจ มีผลตอบแทนทางการลงทุนภายหลังเสียภาษีแล้วในอัตรา 18.34% เหมาะสมที่จะเป็นโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนได้

อย่างไรก็ตามโครงการทําเหมืองแร่โปแตชเป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องผลิตปุ๋ยโปแตชอย่างต่ํา 1 ล้านตันต่อปี จึงจะมีความเหมาะสมในเชิงพาณิชย์ จําเป็นต้องหาตลาด ที่แน่นอน การเสนอเป็นโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน จะทําให้โครงการมีตลาดอาเซียนรองรับ และจะได้สิทธิพิเศษในการจําหน่ายปุ๋ยโปแตชในประเทศเหล่านี้อีกด้วย

รวมถึงการเสนอโครงการนี้เป็นโครงการ อุตสาหกรรมอาเซียนของประเทศไทยจะเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนของรัฐบาล เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนถึง 306 ล้านเหรียญสหรัฐ

18 กันยายน 2533 ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบให้จัดตั้งองค์กร ผู้ถือหุ้นของฝ่ายไทยเข้าร่วมทุนจัดตั้งบริษัททําเหมืองแร่โปแตชของอาเซียนตามหลักเกณฑ์ Basic Agreement ภายใต้ชื่อบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จํากัด (มหาชน) และให้กระทรวงอุตสาหกรรมหารือกับกระทรวงการคลัง จัดหาเงินจํานวน 770,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับทุนจดทะเบียนขั้นต้น